วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

การทอผ้าไหม


การทอผ้าเป็นอาชีพเสริมที่สำคัญของหมู่บ้านดอนหันจากคำบอกเล่าต่อกันมาจากสมัย ปู่ ย่า ตา ยาย การทอผ้าเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งขอผู้หญิงถ้าครัวเรือนไหนมีลูกสาวต้องสอนให้ทอผ้าเป็น จะเป็นที่หมายปองของหนุ่มๆในหมู่บ้านแต่ถ้าผู้หญิงคนไหนทอผ้าไม่เป็น ก็เป็นข้อหนึ่งที่ที่ญาติฝ่ายชายไม่เลือกเอามาเป็นสะใภ้ดังนั้นลูกสาวทุกครัวเรือนจะทอผ้าเป็นทั้งนั้น
กลุ่มทอผ้าไหมจัดตั้งเมือปี 2537 เกิดจากการรวมกลุ่มของสตรีที่อยู่ในชุมชนรวมกันก่อตั้งกลุ่มขึ้นกลุ่มผู้สนใจมีความรูความสามารถในการทอผ้าเป็นอย่างดี โดยมีการเรียนรู้ การมัดหมี่การทอจากบรรพบุรุษ สืบสานต่อกันมา ส่วนใหญ่นิยมทอผ้าในช่วงเสร็จจากอาชีพหลักคืออาชีพทำนาข้าว เวลาว่างก็ทอผ้า ทั้งทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย ทอผ้าโทเร ส่วนเป็นการเพื่อใช้เองทอผ้าไหมก็เริ่มจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหมเป็นเส้นแล้วมาผ่านกระบวนการทอจนทำให้เป็นผืนผ้าและเก็บไว้ใช้เอง
ต่อมาจนถึงปัจจุบันการทอผ้าไหมจะเป็นการซื้อเส้นไหมสำเร็จรูปจากตลาดมาทอการทอส่วนใหญ่นอกจากใส่องล้าเป็นการทอเพื่อจำหน่ายมากขึ้น สามารถเป็นอาชีพเสริมซึ่งทำเงิน ทำรายได้ให้แก่ครอบครัวบ้านดอนหันไม่น้อย และเป็นสินค้าที่ทำชื่อเสียงให้แก่กลุ่มได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์และได้รับ ระดับ 5 ดาว
ผ้าขาวม้า
ผ้าขาวม้า
ผ้าไหมมัดหมี่บุญโส
ผ้าไหมมัดหมี่

ขึ้นด้านบน

ผลิตภัณฑ์กลุ่มได้มีการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการผลิตการตลาด และการบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นคุณเอกลักษณ์ มีจุดเด่นเฉพาะตัวของกลุ่ม เป็นผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมพื้น สีสรรสวยงาม สีไม่ตก เนื้อผ้าหนา และแน่น ดูแลรักษาง่าย การทอผ้าไหมมัดหมี่ลายโบราณเช่น ลายมัดหมี่ที่เป็นเอกลักษณ์สืบทอดกันมาคือลายมัดหมี่กง 2 กง 5 ลายคมห้าและลายผ้าปูมหรือลายผ้ายันต์ กลุ่มมีความภาคภูมิใจมากที่สืบทอดสืบสานภูมิปัญญาชาวบ้านผนวกกับกลุ่มมีความรู้ ความชำนาญ มีเทคนิคการผลิต มีประสบการณ์ได้พัฒนาผ้าไหมัดหมี่ประยุกต์ และผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้างสรรค์ ตามความต้องการและความนิยมของผู้บริโภค จนทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จัก เป็นที่ต้องการของตลาดมากและกลุ่ม มีการติดตามควบคุมการผลิตของสมาชิกให้ได้มาตรฐาน อย่างสม่ำเสมอ มีตลาดรองรับที่แน่นอนที่มีทั้งขายส่งและขายปลีก
ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม

ขึ้นด้านบน

ผลิตภัณฑ์กลุ่มผลิตภัณฑ์ของกลุ่มได้รับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ได้รับ
- ผลิตภัณฑ์ได้รับ มาตรฐาน มผช. ปี 2549
- ผลิตภัณฑ์เข้ารับการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย
ผลิตภัณฑ์ได้รับ
  • ระดับ 5 ดาว ในปี 2546
  • ระดับ 3 ดาว ในปี 2547
  • ระดับ 5 ดาว ในปี 2549
- ได้รับประกาศเกรียติคุณ ผลิตภัณฑ์คุณภาพประจำปี 2549
ผลิตภัณฑ์แปรรูปได้คุณภาพเป็นผู้อนุรักษณ์ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากหนังสือพิมพ์พัฒนาเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์ 5 ดาว
มาตรฐาน มผช.
โล่ห์ประกาศเกียรติคุณ

ขึ้นด้านบน

ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม กำลังการผลิตขึ้นอยู่ช่วงฤดูกาลถ้าฤดูการทำนาปริมาณการผลิตจะน้อยแต่หลังเสร็จจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วกลุ่มจะมีกำลังการผลิตมาก โดยสมาชิกทำการผลิตและจ้างแรงงานคนในชุมชน มัดหมี่ 1 หัวๆละ 2 ผืน จ้างมัดหมี่ 30 ลำ หัวละ 70 บาท และจ้างมัดหมี่1 หัวๆละ 2 ผืน จ้างมัดหมี่ 49 ลำ หัวละ 100 บาท รวมทั้งจ้างเด็ก/เยาวชนในหมู่บ้านแก้หมี่ ที่หารายได้เสริมช่วยครอบครัว ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ โดยจะมีรายได้เฉลี่ยคนละประมาณวันละ 100-200 บาท เป็นการประกอบอาชีพเสริมสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน ลดการอพยบแรงงานเข้าไปทำงานในเมืองหลวาง ทำให้ครอบครัวมีความรักความอบอุ่น อยู่ พร้อมหน้า พ่อ แม่ ลูก ทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันต่อกันจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ทำ ให้คนในหมู่บ้านและชุมชนมีงานทำมีรายได้เลี้ยงครอบครัว

ขึ้นด้านบน

ส่วนผสม ในการผลิต
1. เส้นไหม ที่มีขนาดตามต้องการไหมเล็กเรียกว่า ไหมน้อย หรือไหมใหญ่ เรียกตามภาษา ชาวบ้าน“ไหมหลื้บ”
2. กี่ ทอผ้าด้วยมือ
3. ฟืมทอผ้า
4. กระสวย
เส้นไหม/อัก

ขึ้นด้านบน

1. นำเส้นไหมมาฟอกจากไหมสีเหลืองเป็นสีขาวจะทำให้ย้อมสีติดทนนานและสีไม่ตก
2. การแก่งไหม (แกว่างไหม)ทำให้ไหมเส้นเล็กเหนียวไม่ขาดง่าย ปั่นไหมใส่ไน
3. การค้นหูก มีอุปกรณ์ “หลักเผีย”เตรียมไหมให้เป็นเส้นยาวพอดีกบขนาดฟืม(ไหมทางยืน)
4. ขั้นตอนการมัดหมี่ เป็นการกำหนดลวดลายขอผ้าไหมก่อนนำไปย้อมโดยนำไหมมายึดกับโฮง แล้วก็จะมัดเส้นไหมเป็นลายตามที่ต้องการด้วยเชือกฟางให้แน่นป้องกันไม่ให้สีย้อมหลุดหรือซึมเข้าในส่วนที่ไม่ต้องการ
5. การย้อมสี ตามสีที่ต้องการโดยการย้อมสีอ่อนไปยังสีเข้ม โดยใช้สีเคมีหรือสีจากธรรมชาติที่ต้องการ ต้มในหม้อย้อมเริ่มจากน้ำอุ่นๆแล้วเริ่มเร่งความร้อนแรงขึ้นหมั่นพริกไหมกลับไปกลับมาป้องกันไม่ให้สีด่าง ใช้เวลาย้อมประมาณ 30- 50 นาที แล้วนำไหมขันมาล้างออกให้สะอาดผึ่งให้แห้ง
6. การกวกหมี่ เป็นการแบ่งไหม จากปอยใหญ่เป็นปอยเล็กโดยการปั่นไหม มาต่อกับอัก พันไหมจากกงมาใส่อัก แล้วแยกส่วนไหนเป็นไหมทางยืนใส่กี่ ส่วนไหนใช้เป็นทางทอเตรียมก็ไว้ทอ
7. การปั่นไหม นำไหมทางทอมาปั่นเป็นลายให้เป็นหลอดร้อยลงเชือกใส่ไว้ เพื่อสะดวกเวลาทอ หยิบใส่กระสวย ทอได้ทันที จะได้ลายหมี่ที่ต้อเนื่องสวยงาม
8. การทอผ้า การใช้เวลาการทอถ้าทอต่อเนื่องกันทุกวัน1 เดือนจะได้ 1 ผืน
การทอผ้าไหมจำเป็นต้องใช้เวลา ใช้ความปราณีตใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก เพื่อให้ได้ผ้าไหมที่มีความงดงานลายผ้าที่ทอเป็นลายโบราณ ที่จัดได้ว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ชาวบ้านได้คิดค้นเองและสืบสานกันมาเท่าทุกวัน ลายที่นิยมทำกันมาก คือ ลายกง 2 ลายกง 5 ลายคม 5ลายผ้าปูม (ลายผ้ายันต์) การทอการสวมใส่ ส่วนผู้หญิงจะใส่ผ้าถุง ผู้ชายใส่ผ้าโสร่งถือผ้าขาวม้า ปัจจุบันทั้งชายและหญิงได้พัฒนาไปตามยุคสมัย นำผ้าไหมมาตัดชุดสำเร็จรูปเพื่อสวมใส่ในงานบุญประเพณีสำคัญๆ งานพิธี สวยงามมาก ดูมีสง่าราศรี
เหล่งไหม
กวักไหม
ย้อมไหม
ทอผ้า
ปริมาณการผลิต
สมาชิกจะทำการทอ ที่บ้านของตัวเอง ปริมาณการผลิตเฉลี่ยของกลุ่มสามารถทอได้ประมาณ1,000 เมตร/เดือน ราคาขายเมตรละ 400 บาท สมาชิกกลุ่มมีรายได้โดยเฉลี่ยประมาณ 5000-10,000บาท/เดือน

ขึ้นด้านบน

กลุ่มมีเคล็ดลับในการผลิต เส้นไหมที่นำมาทอจะเลือกคัดอย่างดีเส้นไหมละเอียดเส้นไหมสม่ำเสมอที่สำคัญผ้าไหมสีไม่ตก โดยมีเคล็ดลับการย้อม ขณะย้อมจะใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูจำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ใส่หม้อย้อมที่น้ำกำลังเดือด ตั้งไฟทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทียกไหมลงมาล้างและทำขั้นตอนการผลิตจนกว่าจะได้ผ้าไหมที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

ขึ้นด้านบน

กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มทอผ้าไหมบ้านดอนหัน
ประธานกลุ่ม นางน้อย สอนเรียง
สถานที่ผลิต/ที่ตั้งกลุ่ม บ้านเลขที่ 135 หมู่ที่ 3 บ้านดอนหัน ตำบลใหม่นาเพียง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
โทรศัพท์ 089-278-8900

ขึ้นด้านบน

ราคาจำหน่าย
- ขายปลีก
ผ้าไหมมัดหมี่ 2 ตะกอ 1 ชิ้น ( 2 เมตร ) ราคา 1,000 บาท
- ราคาขายส่ง
ผ้าไหมมัดหมี่ 2 ตะกอ 1 ชิ้น ( 2 เมตร ) ราคา 800 บาท
จำหน่าย ณ ที่ทำการกลุ่ม การออกร้านแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์งานเทศกาลต่าง ๆ ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ขายส่งให้พ่อค้ามาจากบ้านป่าแดง หมู่5 ตำบลคอนฉิม และขายส่งให้พ่อค้าที่มาจากบ้านเก่าหิ้ว หมู่ 1 อำเภอพล และอำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น มารับซื้อ ณ ที่ทำการกลุ่ม เป็นประจำ และสม่ำเสมอ และการขายส่งให้ ศูนย์แสดงสินค้าเมืองทองธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น